Mathematic Experiencs For Early Childhood

เพื่อการศึกษา สืบค้นและแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเป็นแฟ้มสะสมผลงานของนักศึกษา คบ.491(5)/5 ในรายวิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

วันอังคารที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2552

ไอศกรีม


หน่วยไอศกรีม
ชื่อกิจกรรม กิจกรรมเสริมประสบการณ์

จุดประสงค์
- เด็กสามารถบอกสถานที่ขายไอศกรีมได้
- เด็กสามารถใช้เหรียญแทนค่าได้
ขั้นนำ
ครูสนทนาเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนผ่านมา คือ
-เมื่อวานเด็กๆทำอะไรกันจำได้ไหมค่ะ

ขั้นสอน
เด็กและครูร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับสถานที่ขายไอศกรีมโดยใช้คำถามดังนี้
- เด็กๆสามารถพบเห็นร้านไอศกรีมได้ที่ไหนบ้าง
- นำแผ่นชาร์ตสถานที่ขายไอศกรีมมาให้เด็กดู
- ให้เด็กอาสาสมัครออกมาเล่าประสบการณ์ของตนเอง เด็กๆเคยไปซื้อไอศกรีมที่ไหนบ้าง
- ครูแจกเหรียญให้เด็กคนละ5เหรียญ
- ครูเปิดร้านไอศกรีม(บทบาทสมมติ)
- นำแผ่นชาร์ตไอศกรีมที่ขายมาให้เด็กๆดู
- ครูให้เด็กนำเหรียญไปซื้อไอศกรีม

ขั้นสรุป
เด็กและครูร่วมกันบอกสถานที่ขายไอศกรีม และไอศกรีมที่เด็กๆซื้อมา

วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2552

วันอาทิตย์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2551

หลักการสอนคณิตศาสตร์

1. สอนให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน
2. เปิดโอกาสให้เด็ก
3. มีเป้าหมาย มีการวางแผน
4. ใส่ใจเรื่องการเรียนรู้ - ลำดับขั้นการพัฒนาความคิดรวบยอดของเด็ก
5. ใช้วิธีจดบันทึกพฤติกรรมเพื่อใช้ในการวางแผนจัดกิจกรรม
6. ใช้ประโยชน์จากประสบการณ์เดิมของเด็ก
7. รู้จักการใช้สถานการณ์ขณะนั้นให้เป็นประโยชน์
8. ใช้วิธีการสอดแทรกกับชีวิตจริง
9. ให้เด็กมีส่วนร่วมหรือปฏิบัติการจริง
10. วางแผนส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ทั้งที่โรงเรียนและบ้านอย่างต่อเนื่อง
11. บันทึกปัญหาการเรียนรู้ของเด็กอย่างสม่ำเสมอ
12. ในคาบหนึ่งควรสอนเพียงความคิดรวบยอดเดียว
13. เน้นกระบวนการเล่นจากง่ายไปยาก
14. ครูสอนสัญลักษณ์ตัวเลขหรือเครื่องหมายเมื่อเด็กเข้าใจสิ่งนั้นแล้ว

การเตรียมความพร้อมเด็กให้เก่งคณิตศาสตร์ ต้องฝึกให้เด็กได้พัฒนาทางด้านสายตาก่อนเป็นอันดับแรก หากเด็กไม่สามารถใช้สายตาจำแนกแล้ว เด็กจะมีปัญหาด้านการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์

วันศุกร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551

สังเกตการณ์


ในช่วงระยะเวลา 2 สัปดาห์ที่ไปสังเกตการณ์ที่ีโรงเรียนพิบูลย์อุปถัมภ์ ก็ได้ทราบเทคนิคการเรียนการสอนมากมาย และการสอนเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ให้แก่เด็กก็เป็นเรื่องหนึ่งที่มีความสำคัญในชีวิตประวันของเด็ก ครูก็จะมีการเล่านิทานจากภาพให้เด็กฟัง โดยมีภาพหลายๆภาพมาติดไว้ที่กระดาน มีการเขียนตัวเลขกำกับไว้ วึ่งในนิทานก็จะแฝงไปด้วยขนาด รูปร่าง การเรียงลำดับ ซึ่งในการเล่าแต่ละครั้งครูก็จะคอยกระตุ้นให้เด็กคิดตาม ซึ่งเด็กก็จะตั้งใจฟัง และเข้าใจ เป็นการซึมซับในตัวเด็ก


Code Calendar by zalim-code.com



MISS. PACHAREE TONGSEENUD

MISS. PACHAREE  TONGSEENUD

เพลง

(เทปเพลงละอออุทิศ)
เพลง สูงต่ำ
ต่ำ สูง สูง ต่ำ พวกเรามาร้องรำ
สูง ต่ำ ต่ำ ต่ำ ตบมือไปตามเพลง
ต่ำ สูง สูง ต่ำ พวกเรามาร้องรำ
สูงต่ำๆ สูงต่ำๆ แล้วโบกมืออำลา

(อาจารย์ศรีนวล รัตนสุวรรณ)
เพลง รูปเรขาคณิต
รูปทรงกลม นั้นเหมือนพระจันทร์
สามเหลี่ยม นั้นเหมือนหลังคา
สี่เหลิ่ยมผืนผ้า นั้นเหมือนบานประตู
รูปวงรี นั้นเหมือนฟองไข่

(ไม่ทราบผู้แต่ง)
เพลง เรียงลำดับ
เรียงมาเรียงลำดับ ลำดับ ลำดับก่อนหลัง
คนน่าชัง มาทีหลังไม่เรียงลำดับ มาก่อนก็อยู่ข้างหน้า
มาช้าก็อยู่ถัดไป จำไว้นะเด็กไทย (ซ้ำ) ระเบียบวินัยเป็นสิ่งสำคัญ

นิทาน เรื่องนกสาวมีลูก

นิทาน  เรื่องนกสาวมีลูก